คุณกำลังมองหาอะไร?

ผู้

ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 12

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.10.2561
37
0
แชร์
11
ตุลาคม
2561

ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 12

               สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 12 "โภชนาการช่วงแรกของชีวิต: พื้นฐานของสุขภาวะที่ดี: Early life nutrition for good health? ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ดร.อัมพร จันทวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร ในหัวข้อ "Nutrition transition for urbanization and lifestyle changes: Quality & safety of street food and food truck? ร่วมกับ นพ. วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และ ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
               " ปัจจุบันอาหารริมบาทวิถี หรือ Street Food นั้นมีความหลากหลาย อาหารรสชาติอร่อย สามารถบริโภคได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นเสน่ห์และแหล่งท่องเที่ยวของไทย การจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีจึงกลายเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เกิดการขยายตัวและเป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งนี้ เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากรในเขตเมือง ความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต ความเข้าถึงและความสะดวกสบายในการบริโภคอาหาร อย่างไรก็ตามการจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีนั้นมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งด้านความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร เนื่องจากการจำหน่ายอาหารริมทางนั้นสามารถเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค ฝุ่นละออง และสารเคมีได้ง่าย ดังนั้นการจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีจึงต้องคำนึงถึงหลักพื้นฐาน 3 ข้อ ได้แก่ 1) บริเวณที่หรือทางสาธารณะได้รับการอนุญาตหรือเป็นจุดผ่อนผันที่ทางราชการกำหนด ไม่กีดขวางการจราจร 2) มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจากหน่วยงานราชการ และ 3) ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย ผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร โดยการใช้มาตรการทางกฎหมายตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 9 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ทั้งนี้หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นต้องควบคุม ดูแล เพื่อการรักษาความสะอาด และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ รวมทั้งเพื่อให้อาหารที่จำหน่ายมีความสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน? ดร.อัมพร กล่าว
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 12 โภชนาการช่วงแรกของชีวิต: พื้นฐานของสุขภาวะที่ดี: Early life nutrition for good health ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ดร.อัมพร จันทวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร ในหัวข้อ Nutrition transition for urbanization and lifestyle changes: Quality & safety of street food and food truck ร่วมกับ นพ. วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และ ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันอาหารริมบาทวิถี หรือ Street Food นั้นมีความหลากหลาย อาหารรสชาติอร่อย สามารถบริโภคได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นเสน่ห์และแหล่งท่องเที่ยวของไทย การจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีจึงกลายเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เกิดการขยายตัวและเป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งนี้ เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากรในเขตเมือง ความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต ความเข้าถึงและความสะดวกสบายในการบริโภคอาหาร อย่างไรก็ตามการจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีนั้นมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งด้านความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร เนื่องจากการจำหน่ายอาหารริมทางนั้นสามารถเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค ฝุ่นละออง และสารเคมีได้ง่าย ดังนั้นการจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีจึงต้องคำนึงถึงหลักพื้นฐาน 3 ข้อ ได้แก่ 1) บริเวณที่หรือทางสาธารณะได้รับการอนุญาตหรือเป็นจุดผ่อนผันที่ทางราชการกำหนด ไม่กีดขวางการจราจร 2) มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจากหน่วยงานราชการ และ 3) ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย ผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร โดยการใช้มาตรการทางกฎหมายตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 9 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ทั้งนี้หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นต้องควบคุม ดูแล เพื่อการรักษาความสะอาด และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ รวมทั้งเพื่อให้อาหารที่จำหน่ายมีความสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน ดร.อัมพร กล่าว

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน