คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค วิชาการ และการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ครั้งที่ 1/2568

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.03.2568
44
0
แชร์
19
มีนาคม
2568

นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค วิชาการ และการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.)ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดการคุณภาพน้ำบริโภคของโรงเรียน กพด. ปี 2568 รอบ 6 เดือนแรก ร่วมวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน รอบ 6 เดือนหลัง และเสนอแนะแนวทางการพัฒนา แก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำของโรงเรียน กพด. 

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย ผู้แทนโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี หน่วยสนองงาน ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค ศูนย์อนามัย ต้นสังกัดของโรงเรียน ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักการศึกษา กทม. กรมส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดย นายรัชชผดุง ดำรงพิงคสกุล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เป็นผู้กล่าวรายงาน

ปัญหาด้านการจัดการน้ำของโรงเรียน กพด.

  1. ปริมาณน้ำดิบ ไม่เพียงพอ คุณภาพน้ำดิบไม่ดี และไม่มีถังสำรองน้ำ
  2. การบำรุงรักษาระบบกรองน้ำ คุณครูขาดความรู้ด้านการดูแล
    ซ่อมบำรุงระบบผลิตน้ำ ไม่มีการเติมเกลือ หรือคลอรีน ท่อลำเลียงน้ำ และก๊อกน้ำไม่สะอาด
  3. ระบบไฟฟ้า โรงเรียนบางแห่งไม่มีระบบไฟฟ้า หรือมีระบบ
    Solar cell แต่ชำรุด  
  4. การปรับปรุงคุณภาพ น้ำ โรงเรียนบางแห่งไม่มีเครื่องกรองน้ำและขาดการสนับสนุนอุปกรณ์กรอง ศักยภาพระบบกรองไม่เพียงพอ
    ในการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำบริโภค แต่นักเรียนไม่เจ็บป่วย
    ส่งผลให้มุมมองของโรงเรียนไม่เกิดความตระหนักด้านคุณภาพน้ำ

ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหา

  1. ด้านปริมาณน้ำดิบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแผนจัดหาน้ำดิบเพิ่มเติม เช่น การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเสริม โดยให้โรงเรียนประสานหน่วยงานในพื้นที่
  2. ด้านการบำรุงรักษาระบบกรองน้ำ ให้ความรู้โดยใช้แผ่นพับประชาสัมพันธ์ การใช้สื่อการสอนทางเดียวแบบออนไลน์ หรือแบบออฟไลน์ เช่น Clip วิดีโอ เป็นต้น และเพิ่มช่องทาง
    การประสานขอคำแนะนำการซ่อมบำรุงกับช่างระบบกรองน้ำ
  3. ด้านระบบไฟฟ้า ประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่เรื่องการขอใช้ไฟฟ้า หรือขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานเอกชนให้
    การสนับสนุนระบบ Solar cell
  4. บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการลงพื้นที่ เพื่อติดตามขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค
    ของโรงเรียน กพด.

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน