คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.03.2567
31
0
แชร์
13
มีนาคม
2567

วันที่ 8 มีนาคม 2567 นางสุธิดา อุทะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 แบ่งการประชุมเป็นรายศูนย์อนามัย จำนวน 5 ศูนย์อนามัย ประกอบด้วย ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา,ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี,Žศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช,ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา และ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารจากศูนย์อนามัยเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 ในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. ผลการดำเนินงานตามค่าเป้าหมาย (รายศูนย์อนามัยและรายจังหวัด) ผ่านระบบ Foodhandler และจากแหล่งอื่น: ภายใต้ระยะเวลาของไตรมาส 1 - 2 ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 – 4 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสุขาภิบาลอาหารเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน: (1)ขาดบุคลากรในระดับจังหวัด/ท้องถิ่น เช่น มีการปรับเปลี่ยน/โยกย้าย/ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง
    (2)การปรับเกณฑ์มาตรฐานใหม่ ทำให้การเข้าใช้งานระบบ Foodhandler ของท้องถิ่นและผู้ประกอบกิจการยังเข้าถึงน้อย (3)ขาดงบประมาณในการเยี่ยมเสริมพลัง (4)ผู้บริหารบางแห่งไม่ให้ความสำคัญของต่องานสุขาภิบาลอาหาร และ (4)บางท้องถิ่นไม่มีการออกข้อบัญญัติทำให้ขาดการบังคับใช้กฎหมาย
  3. ปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานตัวชี้วัด: (1)กำหนดเป็นนโยบายสำคัญกระทรวง ประเด็นตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และเป็น PA ระดับจังหวัด โดยการ Coach ระหว่างจังหวัดให้ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน (2)ภาคีเครือข่ายมีความเข้มแข็งและมีสัมพนธภาพที่ดี (3)มีการขับเคลื่อนผ่านตัวชี้วัดเมืองสุขภาพดี (4)มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และ (5)ส่วนกลางให้การสนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
  4. การขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง: (1)ขอสนับสนุนชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและน้ำ ชุดตรวจความปลอดภัยอาหาร
    (2)ขอสนับสนุนป้ายรับรองมาตรฐาน SAN/SAN Plus ผ้ากันเปื้อน (3)การกำหนดหลักสูตรอบรมของผู้ประกอบการตลาด และ (4)สื่อสารประสัมพันธ์ด้านสุขาภิบาลอาหารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นผับ คู่มือผู้ประกอบการมินิบุ๊ค สนับสนุนการจัดอบรมหลักสูตร BFSI และ FSI ให้แก่ศูนย์อนามัยเพื่อเสริมความมั่นใจการปฏิบัติงาน
  5. ประเด็นอื่น ๆ : (1)ควรมีการสร้างแรงจูงใจหรือรางวัลกระตุ้นการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหาร (2)บูรณาการตัวชี้วัดระดับกระทรวง ผลักดันให้เป็นตัวชี้วัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการจัดทำ MOU ร่วมกัน (3)การปรับปรุงระบบ Foodhandler ให้ทันกับมาตรฐานที่ปรับเปลี่ยน น่าเชื่อถือ เข้าใช้งานได้ง่าย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน แสดงให้หน่วยงานที่ใช้งานเห็นถึงประโยชน์จากการใช้งานระบบ และ
    (4) สร้างกระแส สร้างการรับรู้มาตรฐาน SAN/SAN Plus ให้เป็นที่รู้จักผ่านเครือข่ายหรือสื่อโซเซียลต่าง ๆ

ทั้งนี้ ทีมส่วนกลางได้นำเสนอผลการดำเนินงานตัวชี้วัดในภาพรวมและร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่ (1)สถานที่จำหน่ายอาหาร (2)อาหารริมบาทวิถี (3)ตลาดประเภทที่ 1 และ (4)ตลาดประเภทที่ 2 เพื่อให้การดำเนินงานในระดับพื้นที่มีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงตอบข้อซักถามการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน