คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

08.03.2567
32
0
แชร์
08
มีนาคม
2567

วันที่ 6 มีนาคม 2567 นางสุธิดา อุทะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 แบ่งการประชุมเป็นรายศูนย์อนามัย จำนวน 3 ศูนย์อนามัย ประกอบด้วย (1.)ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ (2).ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น และ (3).ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารจากศูนย์อนามัยเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 ในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. ผลการดำเนินงานตามค่าเป้าหมาย (รายศูนย์อนามัยและรายจังหวัด) ผ่านระบบ Foodhandler และจากแหล่งอื่น: ภายใต้ระยะเวลาของไตรมาส 1 - 2 ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 – 4 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสุขาภิบาลอาหารเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน: (1)บุคลากรระดับเขต/จังหวัด/อปท. มีการปรับเปลี่ยน/โยกย้าย/ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง (2)การเข้าใจบทบาทการดำเนินงานของ อปท.ต่อการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร (3)การปรับเกณฑ์มาตรฐานใหม่ในระบบ Foodhandler และการเข้าใช้งานของผู้ประกอบกิจการยังเข้าถึงน้อย และ (4)การบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันในบริบทของหน่วยงานท้องถิ่นที่มีความเป็นเมืองหรือชุมชน
  3. ปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานตัวชี้วัด: (1)เป็นประเด็นตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและประเด็น Quick win นโยบายกระทรวงสาธารณสุข (2)หน่วยงานระดับจังหวัดเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน (3)มีการขับเคลื่อนผ่านการอบรมหลักสูตร BFSI และ (4)บูรณาการความร่วมมือของทุกหน่วยงาน
  4. 4. การขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง: (1)ขอสนับสนุนชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ชุดตรวจความปลอดภัยอาหาร
    (2)ขอสนับสนุนป้ายรับรองมาตรฐาน SAN/SAN Plus ผ้ากันเปื้อน (3)มีการยกย่องเชิดชูเกียรติผลการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารให้แก่หน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน และ (4)สื่อสารประสัมพันธ์ด้านสุขาภิบาลอาหาร
  5. 5. ประเด็นอื่น ๆ : (1)มีเวทีแลกเปลี่ยนการดำเนินงานสร้างความเข้าใจบทบาทหน่วยงานท้องถิ่น (2)บูรณาการตัวชี้วัดระดับกระทรวง ผลักดันให้เป็นตัวชี้วัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3)การปรับปรุงระบบ Foodhandler ให้ทันกับมาตรฐานที่ปรับเปลี่ยน การปรับหน้าการประเมินตนเอง การเข้าใช้งานได้ง่าย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน แสดงให้หน่วยงานที่ใช้งานเห็นถึงประโยชน์จากการใช้งานระบบ จัดอบรมและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และ (4) การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ทีมส่วนกลางได้นำเสนอผลการดำเนินงานตัวชี้วัดในภาพรวมและร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่ (1)สถานที่จำหน่ายอาหาร (2)อาหารริมบาทวิถี (3)ตลาดประเภทที่ 1 และ (4)ตลาดประเภทที่ 2 เพื่อให้การดำเนินงานในระดับพื้นที่มีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงให้ข้อเสนอในการขับเคลื่อนนโยบายประเด็นมะเร็งครบวงจร ตอบข้อซักถามการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน