คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

07.03.2567
25
0
แชร์
07
มีนาคม
2567

วันที่ 5 มีนาคม 2567 นางสุธิดา อุทะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 แบ่งการประชุมเป็นรายศูนย์อนามัย จำนวน 3 ศูนย์อนามัย ประกอบด้วย 1.ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี 2.ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี และ 3.ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารจากศูนย์อนามัยเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 ในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. ผลการดำเนินงานตามค่าเป้าหมาย (รายศูนย์อนามัยและรายจังหวัด) ผ่านระบบ Foodhandler และจากแหล่งอื่น: ภายใต้ระยะเวลาของไตรมาส 1 - 2 ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 – 4 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสุขาภิบาลอาหารเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน: (1)มาตรฐาน SAN ยังไม่เป็นที่รู้จักในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการและผู้บริโภค(2)การลงข้อมูลผ่านระบบ Foodhandler ยังมีผลการนำเข้าไม่มาก เนื่องจากมีการปรับเกณฑ์มาตรฐานใหม่ (3)การอบรมผู้ประกอบกิจการและ
    ผู้สัมผัสอาหารยังไม่ครอบคลุม (4) ผู้ประกอบกิจการบางรายไม่สะดวกใช้งานเทคโนโลยี (5)ขาดงบประมาณดำเนินงาน และ (6)ขาดบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันในบริบทของหน่วยงานท้องถิ่น
  3. ปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานตัวชี้วัด: (1) มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารรายจังหวัด
    (2) การนำเสนอการขับเคลื่อนงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารในการประชุมท้องถิ่นจังหวัด และ (3) บูรณาการความร่วมมือ
    ของทุกหน่วยงาน
  4. 4. การขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง: (1) ขอสนับสนุนชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ชุดตรวจความปลอดภัยอาหาร
    (2) ขอสนับสนุนป้ายรับรองมาตรฐาน SAN/SAN Plus ผ้ากันเปื้อน (3) มีการยกย่องเชิดชูเกียรติผลการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารให้แก่หน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน และ (4) สื่อสารประสัมพันธ์ด้านสุขาภิบาลอาหาร
  5. 5. ประเด็นอื่น ๆ : (1)การกระตุ้นให้เห็นคุณค่าของการพัฒนาตามมาตรฐาน SAN เช่น MOU กับมาตรฐานสากลที่จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสนใจ มั่นใจในความสะอาด ปลอดภัยเมื่อใช้บริการ (2)ผลักดันให้เป็นประเด็นตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และ (3)การปรับปรุงระบบ Foodhandler ให้ทันกับมาตรฐานที่ปรับเปลี่ยน เข้าใช้งานได้ง่าย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน แสดงให้หน่วยงานที่ใช้งานได้ประโยชน์จากการใช้งานระบบ และประชาสัมพันธ์การใช้งานอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ทีมส่วนกลางได้นำเสนอผลการดำเนินงานตัวชี้วัดในภาพรวมและร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่ (1)สถานที่จำหน่ายอาหาร (2)อาหารริมบาทวิถี (3)ตลาดประเภทที่ 1 และ (4)ตลาดประเภทที่ 2 เพื่อให้การดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
ในระดับพื้นที่มีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตอบข้อซักถามประเด็นการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และต่อยอดแนวทางการขับเคลื่อนงานที่จะบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน