คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมชี้แจงทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร ปี 2567 เพื่อยกระดับงานสุขาภิบาลอาหาร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.12.2566
380
2
แชร์
06
ธันวาคม
2566

นางสุธิดา อุทะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้รับมอบหมายจาก นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร ปี 2567 เพื่อยกระดับงานสุขาภิบาลอาหาร ภายใต้วิถีใหม่ “สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน” พร้อมบรรยายทิศทางและนโยบายการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร ปี 2567 และแนวทางการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมผ่าน Video Conference ประกอบด้วยศูนย์อนามัยที่ 1-12 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ โรงพยาบาล และ รพ.สต. จำนวนกว่า 350 user  การประชุมวันนี้ประกอบไปด้วยสาระสำคัญของการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้

1.หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินรับรองมาตรฐานเพื่อยกระดับงานสุขาภิบาลอาหาร ภายใต้วิถีใหม่ “สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน” ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ได้แก่ (1)Re Standard (2)Re Process และ (3)Re Logo เป็นการ Re-brand เพื่อสร้างความเชื่อมั่น คุ้มครองสุขภาพประชาชน ยกระดับมาตรฐานงานสุขาภิบาลอาหาร สนับสนุนและสร้างภาคีเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ

2.แนวทางการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร ปี 2567 ตัวชี้วัดสำคัญ เพื่อสนับสนุนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข สู่การปฏิบัติ

        1) โครงการพระราชดำริ/เฉลิมพระเกียรติฯ มี 2 โครงการสำคัญ คือ ราชทัณฑ์ ปันสุขฯ และโรงเรียน กพด.

        2) นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 ในประเด็น 12 เศรษฐกิจสุขภาพ และประเด็น 13 นักท่องเที่ยวปลอดภัย

        3) การขับเคลื่อนสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้แก่ ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร

การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

3.การจัดการข้อมูลสุขาภิบาลอาหารผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบ Foodhandler ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญของงานสุขาภิบาลอาหารที่รวบรวมข้อมูลการอบรมผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร รวมถึงการประเมินรับรองสถานประกอบการอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ

ทั้งนี้ แต่ละหัวข้อได้นำเสนอแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อน รวมถึงร่วมหารือ แลกเปลี่ยน และตอบข้อซักถามการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เกณฑ์มาตรฐานที่มีการปรับเปลี่ยน (SAN) การรับรองมาตรฐาน ช่องทางการรายงานผลการดำเนินงาน รวมถึงบูรณาการตัวชี้วัดการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ สสอป. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาสถานประกอบกิจการด้านอาหารในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน