กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
[ประมวลหลักเกณฑ์การสุขาภิบาลอาหาร และการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในกระบวนการผลิตอาหาร สำหรับโรงพยาบาล] | ||
สถานที่ประกอบอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล หมายถึงสถานทีปรุง ประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยของโรงพยาบาล ซึ่งจำแนกโรงพยาบาลออกเป็น 2 ประเภท และแบ่งมาตรฐานตามประเภทของโรงพยาบาล ดังนี้
|
||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||
การรับรองมาตรฐาน
ถ้าได้มาตรฐานระดับดีมาก และดี จะได้รับใบรับรองของกรมอนามัย ซึ่งมีระยะเวลาการรับรอง ครั้งละ 1 ปี ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร สำหรับสถานที่ประกอบอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล มีรายละเอียดและคำอธิบาย ดังนี้คือ |
||
ก. บริเวณที่เตรียม-ปรุงอาหาร
|
||
![]() ภายในโรงครัวโดยทั่วไปมีสภาพดี วัสดุอุปกรณ์ จัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ สะอาด ไม่มีคราบสกปรก และหยากไย่ มีแสงสว่างเพียงพอที่จะสามารถอ่านแบบสำรวจฯ ได้ และโรงครัวอยู่ไกลจากแหล่งของความสกปรก ได้แก่ ที่พักขยะ หรือบริเวณบำบัดน้ำเสียพอสมควร โดยต้อง ไม่มีกลิ่น ฝุ่น ของสิ่งสกปรก และแมลงวันรบกวน |
||
![]() พื้นผนัง ทำด้วยวัสดุถาวร แข็ง เรียบ เช่น คอนกรีต กระเบื้อง มีสภาพดีไม่ชำรุดจนเป็นแหล่งสะสมความสกปรก ไม่มีเศษขยะ เศษอาหาร และคราบสกปรก |
||
![]() ต้องเตรียม-ปรุง ประกอบอาหาร บนพื้นโต๊ะสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. โดยโต๊ะ หรือเคาน์เตอร์เตรียม-ปรุงอาหาร และผนังบริเวณเตาไฟ ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย เรียบ บุด้วย สแตนเลส อลูมิเนียม โฟเเมก้า กระเบื้องเคลือบ อยู่ในสภาพดีไม่ชำรุด แข็งแรงมั่นคง ไม่มีคราบสกปรก หรือคราบไชมัน |
||
4. มีการป้องกันแมลงวัน เช่น กรุด้วยมุ้งลวด หรือเป็นห้องปรับอากาศ
ในบริเวณโรงครัว มีการป้องกันแมลงวันโดยมีการกรุมุ้งลวด หรือเป็นห้องปรับอากาศ ที่สามารถป้องกันแมลงวันได้ และอยู่ในสภาพดีไม่ชำรุด และโปร่งสะอาด |
||
5. มีการระบายอากาศรวมทั้งกลิ่น และควันจากการทำอาหารได้ดี เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมดูดอากาศที่ใช้การได้ดี
ในบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องไม่อับทึบ สามารถระบายกลิ่นและควันจากการทำอาหารได้ดี ทั้งนี้อาจมีการระบายอากาศโดยธรรมชาติ หรือใช้ปล่องระบายควัน หรือพัดลมดูดอากาศช่วยโดยต้องอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี และไม่มีคราบไขมันเกาะ |
||
ข. ตัวอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องดื่ม
|
||
![]() อาหารและเครื่องดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท หมายถึง อาหาร และเครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะบรรจุที่มีการฉาบ อัด เคลือบ หรือติดด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันมิให้ความชื้น หรืออากาศภายนอกเข้าไปในภาชนะบรรจุได้ ต้องมีฉลาก และฉลากต้องมีเลขสารบบอาหาร 13 หลัก หรือเครื่องหมาย รับรองของกระทรวงอุตสาหกรรม |
||
![]() อาหารสดต้องมีคุณภาพดี หมายถึง มีลักษณะสด สะอาด ไม่มีสีหรือกลิ่นที่ผิดปรกติไป สำหรับอาหารแห้งต้องไม่มีรา ไม่มีกลิ่นอับ แยกเก็บระหว่างเนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ และอาหารแห้ง ใส่ภาชนะแยกจากกัน และวางไว้สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. หรือเก็บในตู้เย็น และสำหรับ อาหารสดโดยเฉพาะผักสด จะต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุง |
||
8. อาหารและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีคุณภาพดี เก็บเป็นระเบียบสูงจากพื้นอย่างน้อย 30 ซม.
อาหารและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีคุณภาพดี หมายถึง มีสภาพใหม่ ไม่เป็นสนิม ไม่บุบบวม ไม่มีสี และกลิ่นที่ผิดปรกติไป เก็บเป็นระเบียบบนชั้นหรือโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 30 ซม. |
||
9. มีห้องเก็บอาหารแห้งโดยเฉพาะ ที่โปร่งสะอาด จัดเป็นระเบียบและชั้นเก็บของชั้นล่างสุด ต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย 30 ซม.
ต้องจัดให้มีห้องเก็บอาหารแห้งโดยเฉพาะ โดยต้องมีขนาดที่เพียงพอ มีการระบายอากาศที่ดี อาหารแต่ละชนิดวางแยกกันอย่างเป็นระเบียบ และต้องจัดให้มีตู้ โต๊ะ หรือชั้นวางของ ต้องไม่วางของบนพื้น และชั้นต่ำสุดของชั้นวางของ ต้องสูงอย่างน้อย 30 ซม. |
||
10. มีห้องเย็นหรือตู้เย็นเก็บอาหาร ขนาดที่เพียงพอ จัดเป็นระเบียบ และสะอาด ถ้าเป็นห้องเย็นต้องมีชั้นวางของ ซึ่งชั้นล่างต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย 30 ซม.
อาหารที่แช่ในตู้เย็น หรือห้องเย็น ต้องแยกเป็นสัดส่วนตามประเภทของอาหาร ไม่ปะปนกัน จัดเป็นระเบียบ ให้ความเย็นกระจายได้ทั่วถึง ถ้าเป็นห้องที่พนักงานสามารถเดิน เข้า-ออกได้ ต้องจัดให้มีชั้นวางของ โดยชั้นล่างสุดต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย 30 ซม. |
||
![]() อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว ได้แก่ อาหารที่พร้อมที่จะรับประทานได้ทันที ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่สะอาด มีอุปกรณ์สำหรับปกปิดอาหาร เช่น ฝาภาชนะ หรือตู้ที่สะอาด และวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. |
||
![]() การลำเลียงอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วไปให้ผู้ป่วย ต้องใช้อุปกรณ์ปกปิดที่มิดชิด สามารถป้องกันฝุ่นละออง และแมลงได้ เช่น ฝาภาชนะ ตู้ กล่อง |
||
![]() น้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ต้องสะอาด หมายถึง ให้พิจารณาถึงน้ำที่นำมาทำเป็นน้ำดื่ม เครื่องดื่ม หรือน้ำผลไม้ต่างๆ ต้องเป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว เช่น ผ่านการต้ม กรอง(โดยเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ) หรือเป็นน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข |
||
ค. ภาชนะอุปกรณ์
|
||
![]() ภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ใส่อาหาร หรือใช้ในการบริโภค เช่น ถาดหลุม จาน ชาม ช้อน และส้อม ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษภัย เช่น สแตนเลส กระเบื้องเคลือบขาว แก้ว อลูมิเนียม เมลามีนสีขาวหรือสีอ่อน (พลาสติกที่เป็นเมลามีนจะแข็งบิดงอไม่ได้) |
||
![]() ภาชนะสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ที่สามารถติดต่อได้โดยภาชนะใส่อาหาร เช่น วัณโรค ตับอักเสบ โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ฯลฯ ต้องมีสัญลักษณ์ และต้องแยกล้างโดยเฉพาะ ไม่ล้างปะปนกับภาชนะใส่อาหารให้กับผู้ป่วยทั่วไป และต้องมีการฆ่าเชื้อโรคที่ภาชนะก่อนและหลังการล้าง |
||
![]() การล้างภาชนะอุปกรณ์ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร จะต้องล้างด้วยวิธีการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำจัดเศษอาหารและคราบไขมัน โดยใช้สารเคมีทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างภาชนะ (หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการล้างภาชนะโดยเฉพาะ) ขั้นตอนที่ 2 การกำจัดสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดให้หมดไป โดยใช้น้ำสะอาดซึ่งอาจใช้น้ำจากก๊อกไหลผ่านภาชนะทุกชิ้น หรือล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องพิจารณาน้ำที่ใช้ล้างด้วยว่าต้องสะอาดทั้ง 2 ครั้ง ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนของการฆ่าเชื้อโรค เช่น อบ ต้ม หรือใช้สารเคมี เช่น คลอรีน (อัตราส่วน ผงปูนคลอรีน 60% 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ แช่ภาชนะนาน 2 นาที) โดยอ่างที่ใช้ล้างภาชนะอุปกรณ์ ต้องใช้อ่างที่มีช่องสำหรับระบายน้ำและต่อท่อหรือสายยาง เพื่อให้น้ำระบายลงสู่ท่อระบายน้ำได้โดยสะดวก ไม่กระเด็นหรือไหลเปียกแฉะ ควรมี อย่างน้อย 3 อ่าง และจัดให้มีก๊อกน้ำใช้ไว้เหนืออ่าง) |
||
17. ใช้เครื่องล้างภาชนะอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อโรค หรือมีตู้อบภาชนะ
ควรตรวจสอบ ภาชนะที่ผ่านเครื่องล้างในด้านความสะอาด ต้องไม่มีคราบเศษอาหารติดอยู่ ไม่มีกลิ่นของอาหาร หรือกลิ่นของสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาด และควรสวอปภาชนะ ตรวจวิเคราะห์ความสะอาดทางห้องปฏิบัติการด้วย |
||
![]() ช้อน ส้อม หลังจากล้างแล้ว ต้องวางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาด ผึ่งให้แห้ง หรืออบให้แห้ง และในขณะลำเลียงไปให้ผู้ป่วยต้องมีการปกปิดให้มิดชิด เช่น ใส่กล่องที่มีฝาปิด หรือใช้กระดาษหรือผ้าที่สะอาดห่อให้มิดชิดเป็นชุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน |
||
![]() ภาชนะใส่อาหารให้กับผู้ป่วย หลังจากล้างสะอาดแล้ว ต้องวางคว่ำในภาชนะโปร่งสะอาดให้แห้ง หรืออบให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในที่สะอาดและมิดชิด และขณะที่ใส่อาหารหรือนำไปให้ผู้ป่วยต้องมีการปกปิด |
||
![]() เขียงที่ใช้หั่นอาหารต้องไม่แตกร้าว หรือเป็นร่อง ไม่ขึ้นรา ไม่มีคราบสกปรกที่ฝังแน่น มีเขียงแยกใช้เฉพาะอาหารสุก และอาหารดิบ ไม่ใช้เขียงปะปนกัน และต้องมีฝาชีครอบเป็นประจำขณะที่ไม่ใช้งาน (ไม่ให้ใช้ผ้าหือฝาอลูมิเนียมทึบปกปิด) ยกเว้นครัวที่มีการป้องกันแมลงวันแล้ว) |
||
ง. การรวบรวมขยะและน้ำโสโครก
|
||
![]() ภาชนะที่ใช้รองรับขยะทุกใบต้องไม่รั่วซึม เพราะจะทำให้เศษขยะ และน้ำจากขยะเปรอะเปื้อนได้ และต้องมีฝาปิดภาชนะรองรับขยะ โดยมีการปกปิดไว้เสมอในช่วงพักใช้งาน และใช้ถุงพลาสติกสวมไว้ด้านใน |
||
22. มีท่อหรือรางระบายน้ำที่มีสภาพดี ไม่แตกร้าว ระบายน้ำจากห้องครัวและที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ลงสู่ท่อระบายหรือแหล่งบำบัดได้ดี และต้องไม่ระบายน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง
ต้องมีทางระบายน้ำทิ้ง ซึ่งอาจเป็นท่อหรือรางระบาย ซึ่งสามารถระบายจากจุดต่างๆ ลงสู่ท่อระบบบำบัดน้ำเสียได้ดี โดยต้องไม่ระบายน้ำที่ใช้แล้วทิ้งไปยังแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ บึง โดยตรง ต้องระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ หรือระบบบำบัดน้ำเสีย |
||
23. มีบ่อดักเศษอาหารและบ่อดักไขมันที่ใช้การได้ดี ก่อนปล่อยลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องมีบ่อดักเศษอาหาร และดักไขมันในจุดที่น้ำเสียผ่าน ก่อนระบายน้ำทิ้ง และต้องมีขนาดที่เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน และต้องมีการตักเศษอาหารและคราบไขมันทิ้งทุกวัน |
||
จ. ห้องน้ำ ห้องส้วม
|
||
![]() ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟใช้ต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีคราบสกปรก ไม่มีเศษขยะ มีน้ำใช้เพียงพอ ต้องไม่มีประตูหรือช่องทางติดต่อโดยตรงกับบริเวณที่เตรียม-ปรุงอาหาร ที่เก็บอาหารทุกชนิด ที่ล้าง-เก็บภาชนะอุปกรณ์ และต้องมีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี มีน้ำใช้เพียงพอ ท่อระบายน้ำไม่อุดตัน มีสบู่ และต้องอยู่ในบริเวณห้องส้วมที่สามารถใช้ได้โดยสะดวก |
||
25. มีห้องส้วม และอ่างล้างมือสำหรับผู้ปรุง-ผู้เสิร์ฟโดยเฉพาะ ต้องจัดให้มีห้องส้วมสำหรับผู้เสิร์ฟใช้โดยเฉพาะ ไม่ปะปนกับเจ้าหน้าที่อื่น หรือบุคคลภายนอก และต้องได้มาตรฐานตามข้อ 24 |
||
ฉ. ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ
|
||
![]() ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ต้องแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน หรือมีเครื่องแบบเฉพาะซึ่งต้องเป็นเสื้อมีแขน และสะอาด |
||
![]() ผู้ปรุงอาหารทุกคน ต้องผูกผ้ากันเปื้อนสีขาวสะอาด และสวมหมวกสีขาวตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน |
||
![]() ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ ต้องได้รับการตรวจร่างกายประจำปีทุกคน และต้องมีหลักฐานการตรวจร่างกายให้ตรวจสอบได้ว่า เป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือพาหะของโรคติดต่อ ได้แก่ วัณโรค บิด ไทฟอยด์ และโรคผิวหนัง |
||
![]() ผู้ปรุง และผู้เสิร์ฟ ต้องเป็นผู้ที่มีสุขนิสัยที่ดี โดยเฉพาะต้องตัดเล็บสั้น ไม่ทาเล็บ ไม่ใช้มือสัมผัสกับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว โดยต้องใช้อุปกรณ์หยิบ ตัก เช่น ที่คีบ ทัพพี ไม่สูบบุหรี่ ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน |
||
ช. การเฝ้าระวังความสะอาดของอาหาร และภาชนะ
|
||
30. อาหารและภาชนะต้องสะอาด โดยมีการตรวจตัวอย่างอาหารปรุงสำเร็จ (อย่างน้อย 2 ตัวอย่าง)และภาชนะ (อย่างน้อย 2 ตัวอย่าง) ทางด้านแบคทีเรีย และต้องได้มาตรฐานคือ ตัวอย่างอาหาร ไม่เกิน 106 โคโลนี/กรัมของอาหารตัวอย่างภาชนะ ไม่เกิน 103 โคโลนี/ภาชนะ 1 ชิ้น/ 4 ตารางนิ้ว(โดยมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนการตัดสินไม่เกิน 2 เดือน) |
||
การตรวจตัวอย่างอาหาร และภาชนะ ต้องตรวจโดยใช้วิธี Standard Plate Count โดย ในวันที่ตรวจตัดสินมาตรฐาน จะต้องมีหลักฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีผลการตรวจ ก่อนการตรวจตัดสินไม่เกิน 2 เดือน และต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้
|